วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์


ภูมิศาสตร์      เป็นเรื่องราวการบรรยายหรือพรรณาเกี่ยวกับโลก ในปี ค.ศ. 1950
คณะกรรมการอภิธานศัพท์ภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ได้ให้ความหมายภูมิศาสตร์ว่า
เป็นศาสตร์ที่บรรยายเกี่ยวกับเปลือกโลก ในแง่ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์
ของพื้นที่ต่าง ๆ พจนานุกรมอเมริกันได้กล่าวว่า
ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นผิวโลกในแง่ของ
ลักษณะเด่น การกำหนดและความสัมพันธ์ระหว่างสารประกอบของโลก
พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยได้ให้ความหมาย ภูมิศาสตร์ ไว้ว่า
เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

ภูมิศาสตร์จึงเป็นศาสตร์มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมิติสัมพันธ์
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
   1. ภูมิศาสตร์กายภาพ
   2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

1. ภูมิศาสตร์กายภาพ  (Physical Geography)
เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ของมัน เนื้อหาของวิชาจึงคาบเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิชา อุตุนิยมวิทยา อากาศวิทยา สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา นิเวศน์วิทยาของพืช และธรณีสัณฐานวิทยา แต่วิชาภูมิศาสตร์กายภาพมิได้เป็นเพียงการนำเอาเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสาขาต่าง ๆ มารวมกันเท่านั้น แต่ได้นำเอาเนื้อหาเหล่านี้มาผสมผสานกันในแง่ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์กายภาพเน้นความสัมพันธ์ทางพื้นที่ นั่นคือ เน้นการกระจายบนพื้นผิวโลกหรือที่เรียกว่า รูปแบบทางภูมิศาสตร์ (geographic pattern) ของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของธรรมชาติในบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก การศึกษารูปแบบทางภูมิศาสตร์ของสภาพแวดล้อมนี้ จะเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นแก่นของระบบสภาพแวดล้อมของโลก โครงสร้างและระบบกลไกการทำงานอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติมักถูกลืม ในยุคที่มนุษย์ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมอย่างหนักเช่นในปัจจุบัน ความเข้าใจโครงสร้างของสภาพแวดล้อมอย่างกว้างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกลไกการทำงานของขบวนการต่างๆในสภาพแวดล้อมจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959) ได้แก่ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม

องค์ประกอบของภูมิศาสตร์กายภาพแบ่งเป็น 3 ประการคือ
   1. ลักษณะภูมิประเทศ
   2. ลักษณะภูมิอากาศ
   3. ทรัพยากรธรรมชาติ


1. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ  หมายถึง   ลักษณะของแผ่นดินที่อาจมีลักษณะสูงๆ
 ต่ำๆ เป็นภูเขาที่ราบ ที่ราบสูง  แม่น้ำ หนอง บึง ซึ่งลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบ
 ต่างมีความสำคัญต่อชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้น  
 ก่อให้เกิดอาชีพสำคัญต่างๆ  กันเช่น   บริเวณที่ราบลุ่มหรือ    ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ  
 มักมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น   มีอาชีพทำการประมง    และทำการเพาะปลูก
 เป็นอาชีพหลัก ส่วนบริเวณที่สูงหรือแถบเทือกเขา  มักมีประชากรเบาบางประกอบ
 อาชีพต่างๆกัน  เช่นทำป่าไม้ทำเหมืองแร่  หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ตามแต่ทรัพยากร
 ในบริเวณนั้นๆ  จะอำนวยจากแผนที่แสดง   ลักษณะภูมิประเทศ   ของประเทศไทย
 เราสามารถ  แบ่งลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยได้เป็น  6 เขต คือ เขตภูเขา
 และที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เขตที่ราบ
 ภาคกลาง    เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก   เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่ง
 คาบสมุทรภาคใต้     และเขตภูเขาภาคตะวันตก   ลงสุ่แม่น้ำสาละวิน   เขตภูเขา
 และที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ


2.ลักษณะภูมิอากาศ

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศของทวีปแอฟริกา คือ ความใกล้ ไกลทะเล มี กระแสน้ำอุ่นและเย็นเลียบรายฝั่ง อิทธิพลของลมประจำฤดูที่พัดผ่านตำแหน่งที่ตั้งของทวีปซึ่งตั้งอยู่ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ รวมทั้งมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเกือบตอนกลางของทวีป

3. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่มนุษย์ ซึ่งได้มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย การที่มีการนำทรัพยากรไปใช้มากทำให้เกิดปัญหาตามมา การใช้ทรัพยากรอย่างผิดวิธี และการใช้อย่างสิ้นเปลือง อาจทำให้ทรัพยากรที่มีคุณค่าลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว เราจึงควรีรู้จัก ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึง วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

มีการแบ่งทรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็นหมวดหมู่ คือ
1. ดิน
2. น้ำ
3. ป่าไม้
4. แร่ธาตุ

และยังมีทรัพยากรประเภทที่ช่วยสร้างความสวยงามให้ธรรมชาติอีกก็คือ ทรัพยากรเพื่อการนันทนาการ